ufabet ทีเด็ด บอล วันนี้ ราคา บอล

The Dons Till I Die

     เอเอฟซี วิมเบิลดัน กำลังจะมีหนึ่งเกมใหญ่อีกครั้งในฤดูกาลนี้ ในการออกไปเยือนกับ อาร์เซนอล ในเกมคาราบาว คัพ กลางสัปดาห์นี้ แน่นอนชื่อเสียงของทีมนี้ หากคุณเป็นแฟนบอลรุ่นเก่าตั้งแต่ปลายยุค 80 เป็นต้นมา หรือเกิดสักต้นยุค 90 แล้วโตมาดูฟุตบอลอังกฤษชื่อของทีมนี้  ต้องผ่านหูกันบ้างอย่างน้อยหนึ่งครั้ง

 

     แต่สิ่งที่น่าเสียดายคือ วิมเบิลดัน ทีมนี้ไม่ใช่ทีมเดียวกับที่เราคุ้นเคยนั้น ไม่สิต้องบอกว่า พวกเขายังคงเป็น “รากเหง้า” ของสโมสร วิมเบิลดัน เดิมที่คุณรู้จัก แต่พวกเขา “เกิดใหม่” กับชื่อสโมสรเดิม หลังการตัดสินใจแยกขาดจากกันกับสโมสรเมื่อ 19 ปีที่แล้ว

 

มาวันนี้ผมขอหยิบเรื่องนี้มาบอกเล่ากันอีกครั้ง กับเรื่องราวที่กลายเป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ฟุตบอล

 

     วิมเบิลดัน เอฟซี คือสโมสรที่ตั้งขึ้นในปี 1889 ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงลอนดอน ภายใต้ชื่อของสโมสร วิมเบิลดัน โอลด์ เซนทรัล โดยมีชื่อเล่นว่า “เดอะ ดอนส์” (อันมาจากชื่อของสถานีรถไฟเฮย์ดอนส์ สถานีรถไฟที่ใกล้กับสนาม พลัค เลน สนามเหย้าของพวกเขา) เริ่มต้นจากการเป็นทีมนอกลีก ก่อนที่จะไต่ระดับล้มลุกคลุกคลานมาเรื่อย ก่อนที่จะเข้ามาสู่จุดสูงสุดคือการมาเล่นในระดับ พรีเมียร์ ลีก ของอังกฤษ โดยพวกเขามีประวัติการคว้าแชมป์รายการใหญ่เพียงครั้งเดียว นั่นคือการคว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ ในปี 1988

“เดอะ เครซี่ แก๊งค์”

     พวกเขาอาจไม่ใช่ทีมที่โดดเด่นเรื่องของผลงานอะไร แต่พวกเขาแตกต่างด้วยความเป็นทีมที่มีพฤติกรรมแปลก ๆ ห่าม ๆ ไม่เหมือนใคร ภายใต้ชื่อว่า “เดอะ เครซี่ แก๊งค์” มีวัฒนธรรมองค์กรเป็นของตนเอง และไม่ต้องการให้ใครมาเข้าใจพวกเขาเสียด้วย อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของพวกเขาก็เกิดขึ้นในปี 1997

 

     เคห์ล อิงเก้ ร๊อคเก้ และ บียอร์น รูน เจลสเทน สองนักธุรกิจชาวนอร์เวย์ เข้ามาซื้อสโมสรวิมเบิลดัน จาก แซม แฮมมอนด์ เจ้าของทีมคนเก่า พวกเขาเข้ามาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะสไตล์ของทีม ในปี 1999 เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่พวกเขาแต่งตั้งผู้จัดการทีมที่ไม่ใช่คนในสหราชอาณาจักร นั่นคือการแต่งตั้ง เอกิล โอลเซ่น ผู้จัดการทีมชาวนอร์เวย์ ที่ผ่านงานกับทีมชาตินอร์เวย์ในฟุตบอลโลก 1998 มาก่อนหน้านี้มาคุมทีม เพื่อหวังว่าจะเห็นทีมมีความเป็นสากลมากขึ้น แต่นั่นกลายเป็นความคิดที่ผิดพลาดมหันต์เมื่อ โอลเซ่น พาทีมไปไม่รอด และตกชั้นในฤดูกาล 1999-2000 การตกชั้นที่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งตัวผู้เล่น ไปถึงเจ้าของทีม สองนักธุรกิจนอร์เวย์ได้ทำการแต่งตั้ง ชาร์ล คอปเปลล์ เข้ามาดูแลงานแทนตนเอง

 

     ย้อนกลับไปในปี 1997 อีกครั้ง มิลตัน คีนส์ ซึ่งเป็นย่านที่มีการปรับปรุงพื้นที่ใหม่สำหรับการขยายตัวของประชากรได้มีการยกระดับและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายในพื้นที่นั้น หนึ่งในนั้นคือสนามฟุตบอลของย่านนั้น ซึ่งยังไม่มีทีมฟุตบอลในย่านนั้นเลย และ พีท วิงเคิลแมน ซึ่งเวลานั้นทำธุรกิจเกี่ยวกับดนตรี ได้เข้ามาทำงานในส่วนนี้ ในการชักชวนหาสโมสรไปที่นั่น โดยมีชื่อของ ลูตัน ทาวน์, บาร์เนต, ควีนสพาร์ค เรนเจอร์ส และ แน่นอน วิมเบิลดัน อยู่ในลิสต์ที่เขายื่นข้อเสนอให้ย้ายไปที่ มิลตัน คีนส์ จนกระทั่ง วิมเบิลดันตกชั้น การเงินที่ฝืดเคือง หนี้สินที่วิ่งเข้ามา ทำให้ คอปเปลล์ ตัดสินใจที่จะย้ายไปที่ มิลตัน คีนส์ โดยให้เหตุผลในเรื่องของค่าใช้จ่าย และเป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ให้กับสโมสร แน่นอนความไม่พอใจของแฟนบอลที่ต่อสู้อย่างหนักในการหยุดยั้งการย้ายถิ่นครั้งนี้ แต่สุดท้ายทุกอย่างก็จบลงด้วยการย้ายออกไปยัง มิลตัน คีนส์ โดยมีการประกาศในช่วงจบฤดูกาล 2001-2002

 

     อย่างไรก็ตาม “แฟนบอล” ของพวกเขาจำนวนมากกลับไม่ตามพวกเขาไปด้วย เพราะพวกเขาเชียร์สโมสรนี้ เพราะมันคือสโมสรในย่านท้องถิ่นของพวกเขา ไม่ใช่สโมสรที่ย้ายออกจากพวกเขาไปอยู่ที่อื่น ซึ่งมีระยะห่างจากเดิมถึง 97 กิโลเมตร พวกเขามองว่าการย้ายครั้งนี้ คือการทิ้งทุกอย่างที่เป็นวิมเบิลดันไปหมดแล้ว และพวกเขาไม่ต้องการเชียร์ทีมนี้ที่ทิ้งพวกเขาไป ดังนั้นการตั้งทีมใหม่จึงเริ่มต้นขึ้น

“ทีมใหม่ ในย่านใหม่”

     พฤษภาคม 2002 สมาคมฟุตบอลอังกฤษ ตัดสินใจอนุญาตการย้ายถิ่นฐานของสโมสร ก่อนที่ทุกอย่างจะย้ายไปอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน 2004 หรือช่วงต้นฤดูกาล 2003-2004 ภายใต้ชื่อ วิมเบิลดัน เอฟซี ก่อนที่ต่อมาจะมีการเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็น มิลตัน คีนส์ ดอนส์ ฟุตบอล คลับ ในเวลาต่อมา โดยมี พีท วิงเคิลแมน เป็นประธานสโมสรคนแรก และมีการเปลี่ยนตราสโมสรใหม่หมด เพื่อเป็นการเริ่มต้นใหม่ของ “ทีมใหม่ ในย่านใหม่” นับประวัติศาสตร์ของทีมใหม่ทั้งหมด ด้วยการระบุว่าในตราสโมสรว่าพวกเขาก่อตั้งในปี 2004

 

     มิถุนายน 2002 แฟนบอล วิมเบิลดัน เอฟซี ประกาศการตั้งสโมสรฟุตบอล เอเอฟซี วิมเบิลดัน ในย่านเดิมของตนเองขึ้นอย่างเป็นทางการ และไปเริ่มต้นทุกอย่างใหม่หมดที่ “นอกลีก” โดยกลับไปใช้งานสนาม พลัค เลน เป็นสนามเหย้า และมีเจ้าของสโมสร บริหารงานโดยผู้บริหารภายใต้ชื่อกลุ่ม “เดอะ ดอนส์ ทรัสต์” และเช่นเดียวกัน พวกเขาไม่ใช่ วิมเบิลดัน เอฟซี อีกต่อไปแล้ว พวกเขาคือ เอเอฟซี วิมเบิลดัน ทีมที่ก่อตั้งในปี 2002 ประวัติศาสตร์ของพวกเขาเริ่มต้นที่นี่ แม้จะมีการนำเค้าโครงตราสโมสรวิมเบิลดันเดิมมาปรับเปลี่ยนให้เป็นตราสโมสรของทีมก็ตาม แต่พวกเขาก็คือทีมใหม่ ที่พร้อมจะเริ่มต้นใหม่ โดยใช้เวลานาน 9 ปีเต็ม สร้างทีมจนกลับเข้ามาสู่ระบบฟุตบอลลีก กับการขึ้นชั้นมาเล่นใน ลีกทู (เทียบเท่ากับ ดิวิชั่น 4 ของประเทศ) ในปี 2011 และมาเล่นในลีกวันครั้งแรกในปี 2016 จนถึงทุกวันนี้

 

     2 ธันวาคม 2012 กลายเป็นเกมประวัติศาสตร์ เมื่อทั้งสองทีมพบกันเป็นครั้งแรก ในเกมเอฟเอ คัพ หลังจากแยกทางกัน และทั้งสองทีมกลายเป็น “อริ” กันแบบไม่ต้องมีเหตุผลใดมารองรับ โดยเป็น มิลตัน คีนส์ ดอนส์ เปิดบ้านพบกับ เอเอฟซี วิมเบิลดัน ท่ามกลางความสนใจจากคนทั่วไป และได้รับการเลือกให้เป็นเกมถ่ายทอดสดไปทั่วอังกฤษ แม้ว่าจะเป็นเกมระหว่างทีมจากลีกวัน พบกับทีมจากลีกทู ก็ตาม ขณะที่กลุ่มแฟนบอลแรกเริ่มจะไม่เดินทางไปที่นั่น ก่อนที่จะเปลี่ยนใจนำพาแฟนบอลเกือบ 15,000 คน ไปที่นั่น

“พวกเราคือ เดอะ ดอนส์”

     “หลายเดือนก่อนหน้านี้ ผมเข้ามาทำงานเป็นผู้อำนวยการของสโมสร เรามีการคุยกันว่า สักวันหนึ่งเราคงได้เจอกับ มิลตัน คีนส์ ดอนส์ แน่นอนในเกมการแข่งขัน เราจะทำอะไรบ้างในเกมนั้น หลังจากมีการพูดคุยกันมายาวนาน เราได้ข้อสรุปว่าเราจะไม่ขอรับการต้อนรับใดจาก มิลตัน คีนส์ ดอนส์ พร้อมกับจะไม่มีคณะกรรมการของสโมสรเดินทางไปเหยียบที่นั่นแม้แต่คนเดียว ไม่มีการจับมือ ไม่มีการพูดคุยใดทั้งสิ้น” เอริค แซมมวลสัน ฝ่ายบริหารของเอเอฟซี วิมเบิลดัน กล่าว

 

     ทุกวันนี้พวกเขาพบกันมาแล้ว 11 เกม มิลตัน คีนส์ ดอนส์ คือทีมที่เหนือกว่าในเรื่องของสถิติกับชัยชนะ 7 เกม เสมอ 2 และแพ้ 2 แต่สำหรับแฟนบอล วิมเบิลดัน เดิม พวกเขาภูมิใจกับทีมของพวกเขาเสมอ และมองว่า มิลตัน คีนส์ ดอนส์ ตกต่ำกว่าพวกเขาเสียด้วยซ้ำ ที่ต้องลงมาเล่นในลีกวัน ในขณะที่พวกเขากำลังไต่อันดับจาก นอกลีกมาจนถึง ลีกวัน

 

“พวกเราคือ เดอะ ดอนส์ และเราจะเป็นเช่นนั้นจนวันตาย”

Ads ทีเด็ด บอล เต็ง วันนี้ ฟุตบอล วันนี้