ufabet ทีเด็ด บอล วันนี้ ราคา บอล

โครเอนเก้ กับการครอบครอง “ปืนใหญ่” Part 3

     “หลังจากได้รับการเชิญให้เข้าร่วมในบอร์ดบริหารของทีมอาร์เซนอล เมื่อปีที่แล้ว ผมพอใจมากกับการที่สามารถเพิ่มหุ้นในสโมสรได้ ผมจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับบอร์บริหารคนอื่น เพื่อรักษาการดำเนินการในแนวทางที่สโมสรต้องการ และรักษาการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนด้วยตนเองอย่างที่สโมสรปราถนา” สแตน โครเอนเก้ กล่าวไว้ในปี 2009

 

     เข้าสู่ปีที่สองหลังการซื้อหุ้นสโมสร อาร์เซนอล เป็นครั้งแรกในปี 2007 และเขาเตรียมก้าวไปอีกขั้นในการซื้อหุ้นใหญ่อีกหนึ่งส่วนนั่นก็คือการเข้าหา หุ้นของตระกูล เบรสเวลล์-สมิธ และตระกูล คาร์ สองตระกูลที่มีความเกี่ยวดองกันทางสายเลือด

เบรสเวลล์-สมิธ เป็นตระกูลใหญ่ที่มีบทบาทกับ อาร์เซนอล

     เบรสเวลล์-สมิธ เป็นตระกูลใหญ่ที่มีบทบาทกับ อาร์เซนอล อย่างมาก ต้นตระกูลของพวกเขา “เซอร์ เบรสเวลล์ สมิธ” ทำธุรกิจด้านโรงแรม และการลงทุนในกลุ่มธุรกิจนี้ (Ritz Hotel หนึ่งในโรงแรมชั้นนำในลอนดอน ก็เป็นของตระกูลนี้) เคยเป็นประธานสโมสร อาร์เซนอลในช่วงปี 1946-1962 ยาวนานถึง 20 ปี เขามีลูกสาวชื่อ ไอลีน และ ลูกชายชื่อ จอร์จ เมื่อเติบโตขึ้น จอร์จกลายมาเป็นผู้อำนวยการสโมสรอาร์เซนอล ตั้งแต่ปี 1953-1976 โดยเซอร์ เบรสเวลล์ สมิธ มีการแบ่งหุ้นให้กับลูกสาว และลูกชายของเขา

 

  • ไอลีน แต่งงานกับ แฮร์รี่ ลาสเซลล์ คาร์ ซึ่งเป็นนักคริกเก็ต ซึ่งต่อมา ไคลฟ และ ริชาร์ด คาร์ ลูกชาย รวมถึง ซาราห์ ลูกสาวได้หุ้นสโมสร อาร์เซนอล ต่อจากผู้เป็นแม่ ทำให้เกิดหุ้น อาร์เซนอล ของ “ตระกูลคาร์” ในเวลาต่อมา
  • จอร์จ แต่งงานกับ เฮเลน ไฮด๊อก มีลูกชายสองคนคนหนึ่งคือ กาย อีกคนคือ ชาร์ลส์ โดย กาย (หรือ กีย์ หากอ่านแบบฝรั่งเศส) เสียชีวิตในปี 1983 ด้วยวัยแค่ 30 ปี หุ้นทั้งหมดในส่วนนี้จึงมาอยู่กับ ชาร์ลส์ ทั้งหมด

 

     ไคลฟ, ริชาร์ด และ ซาราห์ คาร์ ได้ลุ้นจากแม่ของตนเอง มาถือไว้ ไคลฟ เคยดำรงตำแหน่ง รองประธานสโมสรอาร์เซนอล มาแล้ว ก่อนที่ปัจจุบันเขายังคงมีชื่อในตำแหน่งนี้แต่เป็นแบบกิตติมศักดิ์ (Life Vice-President) ส่วน ริชาร์ด คาร์ นั้นทำงานเป็นผู้อำนวยการสโมสร ดูแลในส่วนของการจัดการเรื่องของทีมเยาวชนสโมสรปืนใหญ่ ขณะที่ ซาราห์ (ต่อมาคือ เลดี้ ซาราห์ ฟิลลิป-แบ็ค หลังจากแต่งงาน) ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดกับสโมสร แต่ก็มีหุ้นอยู่ส่วนหนึ่งเช่นกัน  โดยในปี 2008 โครเอเก้ สามารถปิดดีลกับ ริชาร์ด ได้เป็นคนแรก ก่อนที่ในปี 2009 จะได้ส่วนที่เหลือจาก ไคลฟ และ ซาราห์ ทั้งหมดแบบ “หมดตระกูล”

 

     ชาร์ลส​ หลังจากเสียพี่ชายไป เขาก็ดูแลในส่วนนี้มาตลอด เขาแต่งงานกับ แคโรล เฮาส์ ภรรยาคนแรก อย่างไรก็ตาย แคโรล เสียชีวิตลงในปี 1994 และชาร์ลส ในวัยเพียง 39 ปี ก็ยังหนุ่มแน่นพอที่จะมีรักครั้งใหม่ และเขาได้พบกับสาวชาวอินเดียคนหนึ่งที่ชื่อว่า นีน่า คักกลาร์ และแต่งงานกันในอีก 2 ปีต่อมา ทำให้ นีน่า กลายเป็น “เลดี้ นีน่า เบรสเวลล์-สมิธ” และต่อมา ชาร์ลส ได้มอบหุ้นของตนเองให้กับ ภรรยาของเขาทั้งหมด

 

     นีน่า เป็นผู้หญิงที่มีความสามารถมากคนหนึ่ง เป็นผู้หญิงเก่งที่รับงานด้านบริหารธุรกิจหลายอย่างทั้งในส่วนของโรงแรมของต้นตระกูล เบรสเวลล์-สมิธ ของสามี หลังจากเข้ามาของโครเอนเก้ และ อุสมานอฟ เลดี้ นีน่า เบรสเวลล์-สมิธ ตัดสินใจออกจากการเป็นบอร์ดบริหารของ อาร์เซนอล และย้ายไปบริหารธุรกิจโรงแรมของตระกูลแทน โดยเธอออกจากความเป็นบอร์ดสโมสรในปี 2008

เมษายนปี 2010 ณ เวลานั้น สแตน โครเอนเก้ ถือหุ้นอยู่ที่ 29.9 %

     จากข้อมูลยืนยันในเดือนเมษายนปี 2010 ณ เวลานั้น สแตน โครเอนเก้ ถือหุ้นอยู่ที่ 29.9 % ขณะที่ อุสมานอฟ มีอยู่ 26 % ด้วยกัน (ตัวเลขเหล่านี้มีการเพิ่มขึ้นจากการที่ทั้งสองฝ่ายไปช้อนซื้อหุ้นรายย่อยเข้ามาเพิ่มเติม โดยมีการเผยว่าหุ้นส่วนนี้รายย่อยถือหลายสิบคนรวม ๆ แล้วประมาณ 30 %) และแม้ว่าจะออกจากบอร์ดมาแล้ว ขณะที่หุ้นของ อาร์เซนอล ซึ่ง เลดี้ นีน่า เบรสเวลล์-สมิธ ถืออยู่นั้นมีประมาณ 16 % ซึ่งเกือบจะเป็น 1 ใน 4 ของหุ้นสโมสร และแน่นอนว่า โครเอนเก้ และ อุสมานอฟ อยากได้หุ้นส่วนนี้จากเธอ

 

     ทั้งสองฝ่ายมีการเข้าหา และขอซื้อหุ้นจำนวนดังกล่าวจากเธอ โดยมีการระบุว่ามูลค่าหุ้นของเธอถูกประเมินเอาไว้ที่ราคา 84 ล้านปอนด์ โดยในช่วงแรกเธอตัดสินใจไม่ขายให้ใครทั้งสิ้น ก่อนที่ในอีกหนึ่งปีต่อมา เธอจะมีการตัดสินใจครั้งใหญ่ ที่เธอระบุว่า “เสียใจที่สุด” ครั้งหนึ่งในชีวิต

 

     ในขณะที่ทางด้านของ “Red & White” ที่นำโดย อลิเชร์ อุสมานอฟ และ เดวิด ดีน ประสบปัญหาเกี่ยวกับการไม่ได้รับการยอมรับในเรื่องของการเข้ามาในบอร์ดบริหาร พวกเขาถูกมองว่า จะเข้ามาฮุบสโมสร และชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อบอร์บริหารปฏิเสธข้อเสนอในเรื่องของการอัดฉีดเงินเข้ามาของ อุสมานอฟ เพื่อยกระดับทีม พร้อมกับการยืนยันว่า พวกเขาจะเลือกใช้แนวทางของ อาร์แซน เวนเกอร์ ในเรื่องการปั้น นักเตะ เยาวชนเข้าสู่ทีมเป็นหลัก

 

     โครเอนเก้ ในเวลานั้นยืนยันว่าไม่ต้องการเทคโอเวอร์สโมสร แม้เขากำลังจะมีหุ้นแตะหลัก 30 % ขณะที่ อุสมานอฟ ต้องการเข้ามาเพื่อเปลี่ยนแปลงสโมสรด้วยการทุ่มเงิน แต่ “รูปแบบ” การเข้าหา การซื้อใจ และการสร้างความเชื่อมั่นให้กับ บอร์ดบริหาร กลายเป็นคีย์หลักสำคัญของเรื่อง และกลายเป็นจุดพลิกผันทั้งหมดในเวลาต่อมา…ดั่งคำคนที่ว่า “รู้หน้าไม่รู้ใจ ใจคนยากหยั่งถึง” สแตน โครเอนเก้ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน เมื่อในวันที่เขา ครองบัลลังก์ ด้วยการเป็นผู้ถือหุ้นมากที่สุดของสโมสร อาร์เซนอล สโมสรที่มีอายุมากกว่า 134 ปี

 

โปรดติดตามตอนต่อไป

Ads ทีเด็ด บอล เต็ง วันนี้ ฟุตบอล วันนี้