ufabet ทีเด็ด บอล วันนี้ ราคา บอล

“จริงหรือไม่…ซื้อนักเตะดัง แค่ขายเสื้อก็คุ้มแล้ว”

     ในวงการฟุตบอลอาชีพ สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งของการทำให้ ธุรกิจขององค์กรนี้เดินหน้าต่อไปก็คือเรื่องของ “รายได้” ที่จะเข้ามาจุนเจือสโมสร ในเรื่องต่าง ๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ทำ “ยอดรายได้” สูงที่สุด นั่นคือการขายสินค้าที่ระลึก โดยเฉพาะ ชุดแข่งขันของแต่ละสโมสร จัดเป็นหนึ่งในสินค้าขายดีที่สุดของสโมสรแทบจะทุกสโมสร

 

     นักเตะ หลายคนในวงการฟุตบอล มีชื่อเสียงระดับชั้นนำชื่อของ ลิโอเนล เมสซี่ กำลังเป็นประเด็นแห่งความร้อนแรง เกี่ยวกับการย้ายทีมที่ “อาจจะเกิดขึ้น” ได้เมื่อเขากลายเป็น นักเตะ ไม่มีค่าตัว และรอลุ้นว่าจะเป็นทีมไหนที่เราจะได้เห็นเขาลงเล่นในฤดูกาล 2021-2022 คำถามคือการลงทุนกับ นักเตะ อย่าง เมสซี่ ในวัย 34 ปี ที่ค่าเหนื่อยมหาศาล (สื่อประเมินว่า เมสซี่ จะได้ค่าเหนื่อยประมาณ 700,000 ปอนด์ หลังจากหักภาษีแล้ว) กับสัญญาจำนวนสองปี ซึ่งแน่นอนว่าตัวเลขค่าเหนื่อยมหาศาลขนาดนี้ หลายคนก็บอกว่าคุ้ม เพราะ “แค่ขายเสื้อก็คุ้มแล้ว” มันจะจริงหรือไม่ วันนี้เราจะมาขอพูดคุยกันในเรื่องของ ประเด็นเพียงว่า “ขายเสื้อฟุตบอลของสโมสรหนึ่งตัวสโมสรได้เงินหรือไม่”

“ขายเสื้อฟุตบอลของสโมสรหนึ่งตัวสโมสรได้เงินหรือไม่”

     หลังการสัมภาษณ์กับผู้อยู่ในวงการผู้ผลิตแบรนด์เสื้อกีฬาในวงการฟุตบอลพรีเมียร์ ลีก และแบรนด์ที่ให้การสนับสนุนสโมสรฟุตบอลในพรีเมียร์ ลีก (ขออนุญาตสงวนนามผู้ผลิต และผู้ให้ข้อมูล) เราได้รับข้อมูลเพื่อความกระจ่างชัดในเรื่องนี้ และก็มีเรื่องที่น่าสนใจมาให้อ่านกัน ทั้งนี้ผมทราบว่าผู้ให้ข้อมูลที่ให้ความกรุณาแบ่งปันข้อมูลเข้ามาอ่านในเพจของผมด้วย ผมขอใช้บรรทัดนี้ ขอบคุณในข้อมูลที่มอบให้ครับ

 

     ก่อนอื่นเลยนะครับ ปกติทุกวันนี้ การที่แบรนด์สักแบรนด์จะกลายเป็นพาร์ทเนอร์ของสโมสรฟุตบอลระดับชั้นนำสักสโมสรหนึ่ง จะต้องผ่านขั้นตอนของการ “ประมูล” เสนอราคาที่น่าพอใจที่สุดให้กับสโมสร ซึ่งตามมารยาทแล้ว สโมสรใดที่ทำงานกับแบรนด์ใดอยู่ จะได้สิทธิ์ในการพูดคุยก่อนเป็นลำดับแรก อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วเรื่องของ “ผลประโยชน์” จะมาเป็นอันดับหนึ่งเสมอ

 

     ในแง่ของการประมูลเสนอตัวในการเป็นผู้ผลิตเสื้อแข่งให้กับสโมสรชั้นนำ เพื่อเป็นเงินที่จะสนับสนุนสโมสร แลกกับการที่จะได้เป็นผู้ผลิตเสื้อแข่ง + สิทธิประโยชน์นอกเหนือจากนั้น ซึ่งมีหลากหลายอย่างยิ่ง โดยผมขออนุญาตยกตัวอย่าง เอาที่แบบเห็นภาพบางส่วน แต่ในความเป็นจริงแล้ว สามารถทำได้อีกหลายอย่างขึ้นกับ “การเจรจาตกลง” กันในแต่ละดีล

 

     โดยหลักพื้นฐานจะเป็นเรื่องของ Brand Awareness หรือการรับรู้ของผู้คนที่มีต่อแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น โลโก้ของแบรนด์ผู้ผลิตที่จะปรากฎไปทั่วในทุกพื้นที่ของสโมสร แม้กระทั่งบนสื่อออนไลน์ในทุกช่องทาง ซึ่งยังไม่รวมถึงสิทธิ์ในการขายสินค้าของแบรนด์, การเลือกใช้ นักเตะ ของสโมสรในการสวมเสื้อของแบรนด์ เพื่อใช้ในการโปรโมทสินค้า ไปจนถึงการใช้ในการถ่ายทำโฆษณารูปแบบต่าง ๆ ตามแต่ตกลง ซึ่งการเซ็นสัญญาก็จะเซ็นสัญญากันจำนวน 4-5 ปี กันเป็นอย่างน้อย แต่ก็มีหลายสโมสรที่เซ็นสัญญากันมากกว่านั้น

“เสื้อแข่ง”

     แบรนด์ จ่ายเงินสนับสนุนรายปี (ค่าขอมาผลิตเสื้อให้สโมสรแลกกับสิทธิ์ด้านบน ตามแต่จะดีล ตรงนี้สโมสรได้เงิน 100 % จะเอาไปทำอะไรก็แล้วแต่สโมสร) แลกกับสิทธิในการผลิตเสื้อหรือสินค้าทั้งหมดเกี่ยวกับสโมสรตามที่ตกลง แต่ในส่วนนี้เราจะเจาะกันไปที่เรื่องของ “เสื้อแข่ง” เป็นหลักจะมีการกำหนดเป็นสามส่วนคือ

 

  • จำนวนเสื้อแข่งทั้งหมดที่แบรนด์จะผลิตเสื้อหนึ่งรุ่นออกมา และทั้งสามสามตัว (Home-Away-3rd) จะมีการผลิตทั้งหมดเท่าไร และจำหน่ายผ่านทางช่องทางใดบ้าง อ้างอิงจากยอดขายที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รวมถึงขนาดของสโมสร และฐานะแฟนบอลทั่วโลก เพื่อจำหน่ายไปยังแฟนบอลทั่วโลก

 

  • จำนวนเสื้อแข่งทั้งหมดที่แบรนด์จะผลิตแยกให้กับ นักเตะ และทีมงานทั้งหมดของสโมสรในแต่ละปี (Home-Away-3rd) + Training Kit ทั้งหมดตามแต่ที่จะเสนอ และแน่นอนตามแต่ตกลง

 

  • “ประโยชน์ และส่วนแบ่งที่จะได้รับ” ผ่านทางสองช่องทาง ประกอบไปด้วยขายผ่านทางช่องทางของสโมสรทั้งในแบบหน้าร้าน และออนไลน์ อีกหนึ่งช่องทางคือการขายผ่าน Brand Shop หรือ ร้านค้าเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬาต่างทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เรียกว่า สโมสรยิ่งใหญ่ ความนิยมสูงก็ยิ่งกระจายเสื้อไปได้ไกลเท่านั้น

 

มาถึงคำถามสำคัญ “ขายเสื้อฟุตบอลของสโมสรหนึ่งตัวสโมสรได้เงินหรือไม่”

 

คำตอบคือ “ได้” และ “ไม่ได้” ขึ้นกับดีลที่เซ็นสัญญากัน และขึ้นกับว่า คุณ “ซื้อ” ที่ไหน

ช่องทางการขายแต่ละทาง ไม่เท่ากัน

     หากคุณซื้อผ่านทาง ช่องทางของสโมสรทั้งในแบบหน้าร้าน และออนไลน์ จะได้ “เงิน” เข้าสโมสรแน่นอน แต่จะ 100 % หรือน้อยกว่านั้น ขึ้นกับการตกลง บางแบรนด์ให้ไปเลย 100 % บางดีลอาจจบว่าให้เพียง 80 % เข้าสโมสร 20 % กลับมาเข้ายังแบรนด์ แต่กับช่องทางนี้ สโมสรจะ “ได้เงิน” แน่นอน

 

     หากคุณซื้อผ่านทาง Brand Shop หรือ ร้านค้าเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬาต่างทั้งในประเทศ และต่างประเทศ คำตอบคือ บางดีล แบรนด์จะได้เงินจากการขาย 100 % จากการขาย หรือบางดีล จะมีการแบ่งเงินให้กับสโมสรคืนกลับไปด้วยตามสัดส่วน เช่น แบรนด์ 70 % สโมสร 30 % เป็นต้น ย้ำอีกที ทั้งหมดนี้ขึ้นกับการเจรจา  ช่องทางนี้ สโมสรจะ “ได้เงิน หรือ ไม่ได้เงิน” ขึ้นกับดีลที่ทำกันไว้

 

     นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของ ดีลที่อาจเกิดจากการขาย ซึ่งทั่วโลกอาจขายได้ตามจำนวนยอดการขายที่ตกลงกันไว้ อาจมีการเซ็นสัญญาว่าหากถึงยอดขายดังกล่าว สโมสรจะได้ส่วนแบ่งเพิ่มเติมเป็น % ตามที่กำหนดเพิ่มเติม รู้ได้อย่างไร…คำตอบคือแบรนด์จะต้องทำการแจ้งยอดการขายที่สามารถตรวจสอบได้ให้กับสโมสรอยู่เสมอ และการผลิตจะผลิตได้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ในสัญญา

 

     ในกรณีที่ “ต้องการผลิตเพิ่ม” จะต้องมีการประเมินกันล่วงหน้าอย่างน้อย 1-3 เดือน อย่างเช่นกรณีของ ปารีส แซงต์-แชร์กแมง หากพวกเขาเซ็นสัญญากับ ลิโอเนล เมสซี่ ซึ่งแน่นอนว่า การมาของ เลโอ จะทำให้สโมสรขายเสื้อพร้อมชื่อของเมสซี่ได้อีกจำนวนมาก ซึ่งจำนวนเสื้ออาจจะไม่เพียงพอ ทางแบรนด์ และสโมสรก็ต้องมาตกลงกันใหม่เป็นกรณีไปเช่นกัน

 

     สรุปจากข้อมูลทั้งหมดที่หามาได้ “ขายเสื้อฟุตบอลของสโมสรหนึ่งตัวสโมสรได้เงินหรือไม่”สโมสรมีโอกาสได้เงินมากกว่าไม่ได้เงิน ขึ้นกับการเจรจาในแต่ละดีลเป็นหลัก ซึ่งในที่นี้ เราไม่สามารถทราบได้ว่า ทีมโปรดของแต่ละคน ดีลไว้แบบไหนกับผู้ผลิต อย่างไรก็ตามสิ่งที่แน่นอนที่สุดคือ แบรนด์เหล่านั้นก็มอบเงินสนับสนุนรายปี ให้กับสโมสรตลอดอายุสัญญา และหากเสื้อทีมรักของคุณยอดขายดี มันก็จะเพิ่มมูลค่าให้กับสัญญาฉบับใหม่ได้อย่างแน่นอน

 

ส่วนที่บอกว่า “แค่ขายเสื้อก็คุ้มแล้ว” เราบอกไม่ได้ว่าจะคุ้มหรือไม่ ขึ้นกับพลังการซื้อของเหล่าแฟนบอลจะเป็นผู้ให้คำตอบครับ

Ads ทีเด็ด บอล เต็ง วันนี้ ฟุตบอล วันนี้