ufabet ทีเด็ด บอล วันนี้ ราคา บอล

นักเตะอาชีพกับอาการบาดเจ็บ

พรีเมียร์ ลีก ได้รับการระบุว่าเป็นลีกที่มีนักเตะได้รับบาดเจ็บมากที่สุดในฤดูกาลที่แล้วนับจาก 5 ลีกใหญ่ของยุโรปจากการเก็บผลสำรวจที่ออกมา

 

     ทั้งนี้บทสำรวจนี้มาจากตัวแทนบริษัทประกันที่ชื่อว่า Howden ซึ่งมีสาขาอยู่ในหลายประเทศรวมถึงในประเทศไทย โดยทั้ง 5 ลีกใหญ่ประกอบไปด้วย พรีเมียร์ ลีก, เซเรีย อา, บุนเดสลีกา, ลา ลีกา และ ลีก เอิง

 

     1,231 คือจำนวนเคสอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นของนักเตะในพรีเมียร์ ลีก ฤดูกาลที่ผ่านมา โดย เชลซี คือสโมสรที่ได้รับการระบุว่ามีนักเตะบาดเจ็บมากที่สุดของพรีเมียร์ ลีกในฤดูกาลที่แล้วด้วยจำนวน 97 ครั้ง ตามมาด้วยแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด 81 ครั้ง และลิเวอร์พูลมาเป็นอันดับสามที่ 80 ครั้ง โดยทั้งลีกมีการจ่ายค่ารักษาอาการบาดเจ็บของนักเตะรวมแล้ว 184.57 ล้านปอนด์

 

     4,810 คือจำนวนเคสอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นของทั้ง 5 ลีกใหญ่รวมกัน ซึ่งมากขึ้นจากสถิติเดิมในฤดูกาล 2020-2021 ถึง 20 % โดยปารีส แซงต์-แชร์กแมง ถูกระบุว่ามีการจ่ายเงินสำหรับการดูแลรักษาอาการบาดเจ็บสูงที่สุดถึง 34.22 ล้านปอนด์ ขณะที่ เรอัล มาดริด คือทีมที่เจอกับปัญหานักเตะบาดเจ็บมากที่สุดใน 5 ลีกใหญ่กับจำนวน 114 ครั้ง และเสียเงินกับการรักษาอาการบาดเจ็บไปทั้งสิ้น 33.95 ล้านปอนด์ มากที่สุดเป็นอันดับสอง และในภาพรวมของทั่วยุโรปมีการจ่ายเงินเกี่ยวกับการรักษาอาการบาดเจ็บอยู่ที่ 513.23 ล้านปอนด์ ซึ่งมากกว่าในปี 2020-2021 ถึง 29 % ซึ่งในฤดูกาล 2021-2022 อันเป็นช่วงที่สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ยังคงมีต่อเนื่อง มีการระบุว่านักเตะจาก 5 ลีกใหญ่มีการติดเชื้อมากกว่า 500 รายด้วยกัน

ภาพรวมของอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น

      ในภาพรวมของอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น มีการเก็บข้อมูลว่าโดยหลักเกิดจากจำนวนเกมการแข่งขันที่มากขึ้น และต่อเนื่องทำให้โอกาสในการเกิดอาการบาดเจ็บสูงขึ้นตาม รวมถึงเรื่องของการเหนื่อยล้าทางสภาพจิตใจของผู้เล่นที่ต้องลงเล่นเป็นเวลานาน

 

     ผู้จัดการทีมหลายคนในหลายลีกมีการกล่าวถึงเรื่องของความเครียดอันเกิดจากการลงเล่นแบบแทบไม่มีการพัก ซึ่งส่งผลมาจากเกมการแข่งขันจำนวนมากในแต่ละปี นักเตะอาจมีความไม่พร้อม (หรืออาจกล่าวได้ว่าไม่มีความมุ่งมั่น) ได้ต่อเนื่องในทุกเกม เพราะทุกเกมการแข่งขันกลายเป็นเรื่องของธุรกิจ และความสำคัญต่อสโมสรทั้งรายได้และความสำเร็จ และแน่นอนรวมถึงอาการบาดเจ็บที่เสี่ยงมากขึ้นตามความถี่ในการลงสนาม

 

     ยกตัวอย่างเช่น ลิเวอร์พูล ในฤดูกาลที่แล้ว ซึ่งพวกเขาได้ลุ้นแชมป์ถึงวันสุดท้ายในทุกรายการแข่งขัน 4 รายการ [พรีเมียร์ ลีก, แชมเปี้ยนส์ ลีก, เอฟเอ คัพ และคาราบาว คัพ] นักเตะที่ลงเล่นมากที่สุดในทีมคือ จอร์แดน เฮนเดอร์สัน มีส่วนกับทีมถึง 57 เกม (นับรวมทั้งลงเล่นตัวจริง-สำรองเปลี่ยนลงสนาม และไม่รวมการเล่นเกมทีมชาติ) และในทีมมีนักเตะรวมแล้วถึง 9 คนที่ต้องลงเล่นเกิน 45 เกมในฤดูกาลที่แล้ว โดยเริ่มต้นตั้งแต่ 14 สิงหาคม 2021 วันเปิดสนามพรีเมียร์ ลีก จนถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2022 เกมสุดท้ายของฤดูกาลในการลงเล่นรอบชิงชนะเลิศแชมเปี้ยนส์ ลีก รวมแล้ว 287 วัน เฉลี่ยแล้ว เฮนเดอร์สัน ต้องอยู่ในทีมแข่งขันทุก ๆ 5 วันต่อเกม

 

     ในขณะที่นับจากนักเตะในพรีเมียร์ ลีก สักหนึ่งคนที่ลงเล่นแบบไม่มีภารกิจทีมชาติ และสโมสรที่ลงเล่นไม่มีฟุตบอลสโมสรยุโรป พวกเขาต้องลงเล่นอย่างน้อย 40 เกม [พรีเมียร์ ลีก 38 เกม ฟุตบอลถ้วยในประเทศ 2 รายการอย่างน้อยรายการละ 1 เกม] เท่ากับ 287 วันของพวกเขาเฉลี่ยแล้วลงเล่นทุก 7 วันต่อเกมหากลงเล่นครบทั้งหมด และค่าเฉลี่ยจะลดลงไปเรื่อย ๆ ในกรณีที่ฟุตบอลถ้วยเข้ารอบต่อไป

 

     ยังไม่รวมถึงในช่วงปรีซีซั่นประมาณหนึ่งเดือนที่ต้องลงซ้อมเตรียมความพร้อม และลงเล่นในเกมอุ่นเครื่องอีกต่างหาก นี่คือสิ่งที่นักเตะอาชีพในลีกใหญ่ต้องเจอในแต่ละฤดูกาล

ฟุตบอลยุค 2022 กลายเป็นเรื่องปกติ

     FIFPRO มีการเรียกร้องเกี่ยวกับการจัดตารางการแข่งขันใหม่ทั้งหมด เพื่อช่วยเหลือนักเตะทั้งสภาพร่างกายและจิตใจของผู้เล่น โดยเสนอให้มีการเบรกพักการแข่งขันอย่างน้อย 4-5 สัปดาห์ต่อฤดูกาลในแบบที่ไม่มีการแข่งขันใดทั้งในระดับสโมสรและทีมชาติ รวมถึงการยืดเวลาในการพักฟื้นร่างกายให้นานขึ้นด้วยการเว้นระยะห่างของแต่ละเกมให้มากขึ้น เผื่อลดความกดดันและความเครียดที่ส่งผลกับผู้เล่นโดยตรง เหมือนกับที่ทุกวันนี้ทุกลีกมีการพักเบรคระหว่างฤดูกาลประมาณ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งหากมองในแง่ของปฏิทินการแข่งขันแล้วเป็นไปได้ยากมาก ณ เวลานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูกาลนี้ที่ ฟีฟ่า ดันปล่อยให้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายที่กาตาร์ในช่วงปลายปีที่จะถึงนี้ และทำให้ตารางการแข่งขันของฟุตบอลลีกทั่วยุโรป ต้องจัดตารางแข่งขันกันใหม่หมด และอัดแน่นไปด้วยจำนวนเกมมากมาย ยิ่งทีมใหญ่ลุ้นแชมป์หลายรายการ อาจจะต้องลงเล่นกันทุก 3-4 วันต่อเกมเป็นระยะเวลาหลายเดือน ไม่รวมถึงภารกิจในนามทีมชาติ ซึ่งก็มีการแข่งขัน เนชั่นส์ ลีก ซึ่งนักเตะหลายคนไม่อยากลงเล่น อย่างเช่น เควิน เดอ บรอยน์ เพลย์เมคเกอร์ของแมนเชสเตอร์ ซิตี้ และเบลเยี่ยม ที่ระบุว่าเขามองไม่เห็นถึงความสำคัญของรายการนี้เลย

 

     นอกจากนี้ในวงการฟุตบอลยุค 2022 กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วที่จะมีการแข่งขันกันในทุกระดับการแข่งขันไม่ใช่แต่เพียงในระดับอาชีพเท่านั้น แม้กระทั่งทีมเยาวชนก็มีการจัดการแข่งขันอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในรูปแบบของลีกในประเทศ และการแข่งขันชิงแชมป์ระดับยุโรป ซึ่งการแข่งขันก็เต็มไปด้วยแรงกดดันที่ต้องบอกว่า “จำเป็น” เพราะนักเตะจะต้องได้เจออย่างแน่นอน หากก้าวไปสู่ทีมชุดใหญ่ในระดับอาชีพต่อไป

 

     อย่างไรก็ตามปัญหาในเรื่องของอาการบาดเจ็บ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดสำหรับนักเตะเยาวชน อาการบาดเจ็บของนักเตะอายุน้อยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว และได้ดีกว่านักเตะที่มีอายุมากที่ต้องการเวลาในการฟื้นฟูที่มากกว่า และอาจจะได้รับการฟื้นฟูที่ไม่เต็มสมรรถภาพตามวัย และอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งตลอดเส้นทางอาชีพ อย่างไรก็ตามหากนักเตะเยาวชนถูกนำไปใช้งานลงเล่นและไม่ดูแลให้ดี อาการบาดเจ็บก็จะกลายเป็นอาการบาดเจ็บเรื้อรังตามมา เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับนักเตะหลายต่อหลายคนที่กลายเป็นนักเตะที่บาดเจ็บง่ายทั้งที่ยังอายุน้อย

การเล่นเพื่อรายได้ที่จะเข้ามาสู่องค์กร

     ก่อนหน้านี้ไม่กี่สัปดาห์ พรีเมียร์ ลีก และ อีเอฟแอล มีการพูดถึงความเป็นไปได้ในเรื่องของการลดเกมรีเพลย์ลงในรายการแข่งขันฟุตบอลถ้วยในประเทศ รวมถึงในรายการ ลีก คัพ ซึ่งอยู่ภายใต้ชื่อผู้สนับสนุนอย่างคาราบาว ก็อาจจะมีการปรับให้สโมสรที่ลงเล่นในฟุตบอลยุโรปในฤดูกาลนั้น ๆ สามารถเลือกใช้งานทีมนักเตะในระดับอายุต่ำกว่า 21 ปีลงสนามได้ เพื่อลดจำนวนการแข่งขันลงไปบ้าง แต่ทั้งหมดยังคงอยู่ในขั้นตอนการหาข้อสรุปร่วมกัน ตรงกันข้ามกับ ยูฟ่า ที่ประกาศออกมาแล้วว่าในฤดูกาล 2024-2025 เป็นต้นไปการเล่นยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก จะมีการเพิ่มจำนวนเกมการแข่งขันให้มากขึ้นกว่าเดิม

 

     “นักเตะอาชีพ” ในลีกใหญ่ทุกคนแม้จะได้รับค่าแรงที่สูงเมื่อเทียบกับอาชีพโดยทั่วไปแล้ว แต่สุดท้ายแล้วพวกเขายังคงเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีความรู้สึกสุขและทุกข์ ไม่ต่างจากคนทั่วไปซึ่งต้องเจอกันทุกคน ไม่ว่าคุณจะอยู่ในสถานะใดของสังคมก็ตาม เช่นเดียวกับที่ทุกวันนี้ ฟุตบอล กลายเป็นความบันเทิงรูปแบบหลักในวงการกีฬาที่สร้างเม็ดเงินมหาศาลให้กับเศรษฐกิจทั่วยุโรป โดยเฉพาะใน 5 ลีกใหญ่ที่การระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาก็ทำให้เห็นแล้วว่าการขาดรายได้จากการเข้าชมการแข่งขันมันเลวร้ายมากแค่ไหนสำหรับการดำเนินกิจการของทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง และนั่นคือเหตุแห่งการ “เล่นต่อไป” เพราะทุกการลงเล่นหมายถึงรายได้ที่จะเข้ามาสู่องค์กร และบางสโมสรมันหมายถึงความอยู่รอดของพวกเขาเลยทีเดียว

Ads ทีเด็ด บอล เต็ง วันนี้ ฟุตบอล วันนี้